Doodlenote ในโพสนี้ จะสรุปจากหนังสือเล่มนี้ “Startup กับ การวางกลยุทธ์บุกตลาด” ที่รวบรวมเคสของ 40 บริษัทที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังแบบสั้นๆ ง่ายๆ
ส่วนตัวชอบเคสที่ 39 มากที่สุด คือ Pebble กับ Gopro ที่ทั้งคู่เป็นผู้บุกเบิก smart watch และ action camera
Pepbble
กินตลาดเกินครึ่งในช่วงรุ่งๆ ส่วน Gopro ก็เป็นผู้นำที่มาพร้อมกับไอเดียกล้องจิ๋วแต่แจ๋วที่ลูกเล่นหวือหวากว่าใคร
ทั้งคู่ควรเป็นเทพนิยายที่จบแบบ Happy ending แต่ในความเป็นจริง เมื่อพ้นช่วงฮันนีมูนที่หวานชื่น และการตื่นตัวของยักษ์ใหญ่ ก็ทำให้กระทืบแจ๊คแบนแต๊ดแต๊ได้
Pabble โดนรุมกินโต๊ะจาก Apple watch/ Google/Huawei/Sumsung ฯลฯ สุดท้ายต้องขายให้ Fitbit ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เคยเชิดใส่เงิน 740 ล้านเหรียญ ของ Citizen
ทำให้เห็นว่า สตาร์ทอัพไม่ได้ไร้เทียมทานอย่างที่หลายคนคิด โดยเฉพาะเมื่อปลาไวไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นปลาเล็ก ปลาใหญ่ที่ดันวิวัฒนการจนว่ายได้ไวกลับน่ากลัวและเขมือบคู่แข่งได้ทั้งตัว
Gopro
อาณาจักรของ Gopro โดนมังกรจีนถล่มด้วยไฟด้านสงครามราคา เพราะต้นทุนที่ถูกแสนถูกอย่างไม่น่าเชื่อ และ gopro ไม่ได้มีข้อได้เปรียบอื่น เช่น แบรนด์ หรือ ecosystem ที่แข็งแกร่งอย่าง Apple เมื่อถูกเลียนแบบก็หมดทางไป
ศาสดาจ๊อบส์ เคยพูดว่า “ไม่จำเป็นต้องเป็นคนแรก แต่ต้องเป็นคนที่ดีที่สุด”
คำว่าเจ้าเก่าเยาวราช หรือ ความเก่าแก่เพราะอยู่นานที่แปะไว้หลังชื่อร้าน แบรนด์ ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก ถ้าคุณภาพ คุณค่าที่ส่งมอบ แบรนด์ ไม่สร้างความได้เปรียบใดๆ
นี่คือบทสรุปของ เคสรองสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้
อีกสองเรื่องที่น่าสนใจในเล่มนี้ คือ
PropTech
มีการสร้าง solution เพื่อแก้ปัญหาของ ผู้บริโภคมากมาย ตัวอย่างได้แก่ การขาย ให้เช่า หรือหา roommate และในอนาคต จะมีการนำเทคฯ ต่างๆ มาใช้เพิ่มไม่ว่าจะเป็น
AI เพื่อดูแนวโน้มราคาที่ดิน
VR เพื่อความสะดวกในการเยี่ยมชม บ้าน คอนโดฯ หรือ
IOT ในแบบ Smart home/Smart City
นอกจากนี้ยังรวมถึงการเก็บ Big data ในด้านต่างๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ทาง
สำหรับในไทย Bannia เป็นตัวอย่างของแพลตฟอร์ม marketplace (ตลาดซื้อขาย) ของอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือหนึ่งและมือสอง ที่ให้ประโยชน์ ลค ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเทียบราคา คำนวณเงินผ่อนชำระ หรือ เทรนด์ต่างๆ ด้วยการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ
ในปี 2018 ได้เงินลงทุนจาก บ.ยักษ์ใหญ่ 4 ที่เลยทีเดียว
ว่างๆ ลองไปเล่นกันดูได้นะครับ
PeperFry
เป็นอีกเคส ที่ขอหยิบมาเล่า โดย PaperFry เป็นตลาดออนไลน์ขายเฟอร์นิเจอร์ทางเว็บไซต์ (online marketplace) ของอินเดีย ที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของ ebay สองคน คือ Ambereesh Murty และ Ashish Shah
เดิมทีทั้งคู่ ตั้งใจขายสินค้าหลายอย่างคล้ายจะเป็น Amazon แห่งอินเดีย แต่ต่อมาได้ใช้กลยุทธ์เลือกโฟกัสในสิ่งที่ตนเองทำได้ดี
คุณค่า ที่ PeperFry มอบให้ฝั่งผู้ขาย ก็คือ บริการด้าน Hub และการขนส่ง
ส่วนฝั่งผู้ซื้อ ก็มีทั้ง option ซื้อและเช่าสินค้า
เท่านั้นยังไม่พอ หลายคนอาจลังเลที่จะซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบ online เพราะไม่ได้จับต้อง ทดลองใช้
ทาง PepperFry จึงให้ข้อเสนอ เอาของไปลองเลย 100 วัน ไม่ดีจริง ยินดีคืนเงิน!
การทำธุรกิจก็แบบนี้ ต้องสร้างสรรค์ และนำเสนอคุณค่าที่น่าจะตอบเสนอลูกค้าได้ และคู่แข่งไม่มี แต่ถ้าทำไม่ได้ จะมีคนเสนอทำแทนคุณเอง
PeperFry จึงมีลูกค้ามากกว่า 1ล้านคน ที่เข้ามาแวะเวียนในเว็บอย่างต่อเนื่องแบบนี้
ส่วนเคสอื่นๆก็ชอบหมด ออกแนวอ่านเรื่อยๆ ได้ความเข้าใจธุรกิจ และคุณค่าแบบแปลกๆ ที่สตาร์ทอัพเสนอแก่ ลค ที่หลายคนที่ทำธุรกิจแบบปกติอาจตีความว่าไม่รัดกุม และมีข้อบกพร่อง
แต่ก็นั่นแหละ นี่คือ สตาร์ทอัพที่มองข้อบกพร่อง ว่าสามารถพัฒนาและปรับปรุงได้ ไม่ต่างอะไรกับชีวิตคนเราที่คงวางแผนให้ชีวิตสมบูรณ์ไม่ได้ 100% ตั้งแต่เกิดจากท้องแม่หรอก แต่ต้องปรับปรุงพัฒนากันไป สิ่งที่ความผิดพลาดแลกมาได้ ก็คือประสบการณ์ ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและบรรลุนิติภาวะต่อไป
ถือเป็นหนังสือที่ดี แต่ตัดคะแนน การตรวจปรู๊ฟ พิมพ์ผิดเยอะไปหน่อย และปล่อยตัวเลขเงินหลักล้านให้เหลือเป็นหลักร้อยก็มี ขอให้ที่ 7/10 นะครับ แต่ยังไงก็จะติดตามค่ายนี้ต่อแหละ เพราะว่าเรื่องน่าสนใจดีครับ