ในการแก้ไขปัญหา ต้องระวังหลุมพรางเหล่านี้ครับ
- ระบุปัญหาไม่ชัดเจนพอ (Weak problem statements.) ทำให้ไม่รู้ว่าปัญหา หรือ เป้าหมายที่ต้องการคืออะไรกันแน่ และอาจทำให้ติดกระดุมเม็ดแรกของการแก้ปัญหาผิดไปจากที่ควรเป็น
- รีบสรุปวิธีแก้ปัญหาเกินไป (Asserting the answer.) เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการ Jump to solution ซึ่งผลที่ตามมา คือ แก้ไขปัญหาไม่หายขาด ซึ่งอาจเกิดจากการแก้ที่อาการ ไม่ได้แก้ที่ราก ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
- ย่อยปัญหาไม่ถูกวิธี (Failure to disaggregate the problem.) ทำให้ดูไม่ครบระบบ หรือ ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- ไม่ดูทีมงานและบรรทัดฐานในทีม (Neglecting team structure & norms.) อาจรวมถึงการดูสภาพแวดล้อมหน้างานจริงๆ และพฤติกรรมของคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้รู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นที่แท้จริงมากกว่าตัวเลขหรือข้อมูล การพลาดในจุดนี้ อาจทำให้ทั้งการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้นั้นไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ
- ใช้เครื่องมือในการแก้วิเคราะห์ไม่ถูกต้อง (Incomplete analytic tool set.)
- ไม่นำข้อสรุปไปทำต่อ (Failing to link conclusion with a storyline for action.)
- แก้แล้วจบไม่ติดตามผล (Treat the problem solving process as one-off rather than an iterative one.) ทุกการแก้ปัญหาจำเป็นต้องติดตามผล ว่าเมื่อแก้ปัญหาแล้ว สภาพการณ์ดีขึ้นอย่างไร เพื่อให้รู้ถึงประสิทธิภาพของวิธีการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ยังเป็นไปเพื่อการตรวจสอบว่ามีผลข้างเคียง (Side-Effect) ที่เกิดจากวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยหรือไม่ จะช่วยให้ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสิ่งควรระวัง ที่นักแก้ปัญหาทุกท่านต้องไม่พลาดติดกับดักง่ายๆ นะครับ